ไม่นานมานี้ได้รับมอบหมายงานให้ออกแบบโปสเตอร์คัดสรรดีมาก โดยมีโจทย์ให้นำฟอนต์รูปภาพ (Pi / Picture Font) ทั้งหมดมาออกแบบประกอบรวมกันเป็นโปสเตอร์ ๑ แผ่น หน้า-หลัง พิมพ์ ๒ สีเพื่อเป็นของขวัญให้แก่พันธมิตรในช่วงปีใหม่
ฟังดูเป็นเรื่องที่ง่าย แค่นำองค์ประกอบที่มีอยู่แล้วมาจัดเรียงลงไป เมื่อถึงเวลาเริ่มออกแบบ เปิดหน้าเปล่าขึ้นมา ๑ หน้า เห็นพื้นที่สี่เหลี่ยมสีขาวบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ พร้อมกับฟอนต์รูปภาพทั้งหมด ๖ ชุดของบริษัทนับร้อยๆที่เรียงรายอยู่เป็นแถว ทันใดนั้นก็พบว่าเกิดความผิดปกติขึ้นกับตัวเอง ความว่างเปล่าเข้าครอบงำเฉียบพลันโดยไม่มีสาเหตุ อาการผิดปกติ ดังกล่าวได้รับการตั้งชื่อโดยอ.อนุทินว่าโรค "Untitled1 Syndrome" เมื่อความว่างเปล่าบนหน้าจอมาพร้อมกับความมึนงง แล้วเราควรทำอย่างไร
ท้ายที่สุด โปสเตอร์แผ่นแรกของเราก็สำเร็จลุล่วงมาได้ด้วยดี (ด้วยความสมบุกสมบันและทุลักทุเล) ใช้เวลาในการออกแบบโดยผ่านขั้นตอนการลองผิดลองถูกแบบไร้ทิศทาง เป็นสาเหตุให้ใช้เวลาและความบุกบั่นสูงกว่าปกติ แต่ก็รู้สึกดีที่ทำให้ได้เรียนรู้อะไรเพิ่มเติมจากประสบการณ์การทำโปสเตอร์แผ่นนี้
เรื่องนี้สอนให้รู้ว่าการมีคอนเซปต์และกระบวนการที่ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง (แต่การลองผิดลองถูกก็เป็นการเรียนรู้ที่ดีสำหรับการเริ่มต้น)